วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของเด็ก

ความสำคัญของการส่งเสริมพฤติกรรมนิสัยรักการอ่านของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1

ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระว่างบุคคลทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เมื่อเด็กจบการศึกษาระดับปฐมวัย เด็กต้องมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ครอบคลุมพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาโดยนำปรัชญาแนวคิดที่ว่า การศึกษาปฐมวัยเน้นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ตามศักยภาพภายใต้บริบทสังคม วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ด้วยความรัก ความเอื้ออาทรและความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม
ตามที่ทางกระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยปีพุทธศักราช 2546 ให้สถานศึกษาทำปรัชญาการศึกษาและหลักการของหลักสูตรกำหนดไว้ลงสู่การปฏิบัติ ซึ่งโรงเรียนอนุบาลวัดสระแก้วได้ดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 เป็นต้นมา ผลก็พบว่า เด็กมีคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรกำหนดอยู่ในระดับที่ดี มีเพียงคุณลักษณะพึงประสงค์ข้อที่ 12 ที่ให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีทักษะในการแสวงหาความรู้ ซึ่งตรงกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย มาตรฐานที่ 6 ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 ที่ว่ารักหนังสือและมีความสนใจในการอ่านเขียน ซึ่งเด็กยังมีพฤติกรรมตามคุณลักษณะนี้น้อยกว่ามาตรฐานที่ทางโรงเรียนกำหนดไว้ และเมื่อไม่นานมานี้มีการเผยสถิติออกมาว่าคนไทยโดยเฉลี่ยอ่านหนังสือเพียง 10 บรรทัดต่อคนต่อปี ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาระดับชาติที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ และได้มีการประมวลสาเหตุที่ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ขาดอุปนิสัยรักการอ่าน คือ ขาดการกระตุ้นส่งเสริมให้รักการอ่านตั้งแต่เยาว์วัย ถูกเร่งรัดให้อ่านอย่างผิดวิธี เด็กไม่สนุกกับการอ่าน ต้องอ่านในสิ่งที่ไม่ชอบ มีการสอนอ่านแบบเข้มงวด ชอบลงโทษเด็กเวลาอ่าน ถูกบังคับให้อ่านโดยขาดความพร้อม และเด็กใช้เวลากับสิ่งอื่น ๆ มากเกินไป
การอ่านถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการแสวงหาความรู้และสะสมความรู้ วิทยาการแนวคิดต่าง ๆ การอ่านจึงเป็นประโยชน์และมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตมาก การอ่านช่วยให้ได้รับความรู้หรือสนองในสิ่งที่อยากรู้ได้ ช่วยให้เกิดความเพลิดเพลิน ช่วยผ่อนคลายอารมณ์ ช่วยพัฒนาทักษะทางภาการฟัง พุด และการเขียนทำให้การติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการอ่านทำให้บุคคลได้ขยายความรู้ประสบการณ์เพิ่มขึ้นอย่างลึกซึ้ง กว้างขวาง ทำให้รอบรู้ เกิดความมั่นใจในการพุด พัฒนาตนเองทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ดังนั้นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้กับเด็กปฐมวัยจึงเปรียบเสมือนได้ร่วมกันมอบสมบัติอันมีค่ามหาศาลให้กับเด็ก เพราะความรู้ที่ได้รับจากการอ่านจะเป็นทุนในตัวเด็กให้ใช้ประโยชน์ต่อไป การอ่านจึงเป็นการลงทุนน้อยแต่ได้ผลมาก และเด็กที่สนใจในการอ่านก็จะเป็นผู้ที่มีนิสัยรักการอ่านตลอดไป การปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้กับ เด็กปฐมวัย จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องช่วยกัน วิธีการที่จะช่วยส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในระดับปฐมวัย ควรให้เด็กเลือกกิจกรรมด้วยตนเอง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจและมีความหมาย ส่งเสริมให้พุดเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง มีโอกาสในการทำกิจกรรมการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และสื่อที่น่าสนใจ สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก เช่น นิทาน
ดังนี้นิทานถือเป็นสิ่งที่เด็ก ๆ ทุกคนชอบมาก นิทานเป็นสิ่งที่ช่วยถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ให้แก่เด็ก สร้างความเพลิดเพลินและช่วยสนองความต้องการของเด็กได้เป็นอย่างดี เพราะนิทานมีเนื้อหาต่อการปลูกฝังความดี ความละเอียดอ่อนข้างในจิตใจ สร้างความคิดริเริ่มและการเลียนแบบที่ดีให้กับเด็ก ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กเกิดการพัฒนาทักษะการฟัง การพูด การกล้าแสดงออกและเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดสร้างสรรค์
จากสภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอน จึงได้ศึกษาเอกสาร ค้นคว้า รวบรวมและพัฒนากิจกรรมการใช้นิทานมาใช้เป็นแนวทางสำหรับการดำเนินการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้กับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัยเพื่อพัฒนาเด็กให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาชาติที่ 1 คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ทั้งในฐานะพลเมืองและพลโลก และมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยมาตรฐานที่ 6 เด็กมีความสนใจใฝ่รู้ รักการอ่าน และพัฒนาตนเองต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

วันพุธ ที่ 26 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2551

การจัดประสบประการณ์ภาษาธรรมชาติ
การสอนภาษาโดยองค์รวม
โคมินิอุส
เด็กสามารถค้นพบข้อมูลใหม่โดยการนำเสนอด้วยสิ่งที่เด็กคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน เด็กจะเข้าใจสิ่งของที่เป็นรูปธรรมได้โดยการใช้ภาษาถิ่นหรือภาษาในชีวิตประจำวัน
กู๊ดแมน สมิธ เมอร์ริดิธ
ความรู้จะเกิดขึ้นอย่างพรั่งพรูจากกระบวนการเรียนรู้และมีการพัฒนาภาษาพูด ภาษาเขียน ซึ่งครูจะเห็นได้ชัดเจนจากการที่เด็กนั้นอาศัยภาษาเป็นสื่อในการแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างมีความหมายในกระบวนการเรียนรู้ทั่วๆไปของเด็กในโรงเรียน
ครูใช้ภาษาทุกทักษะ ด้านการพูด ฟัง อ่าน เขียนแบบองค์รวมในทุกกิจกรรมในห้องเรียนเช่นการวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ การแนะแนวหลักสูตรการทำจดหมายข่าว การเขียนบทความ การเขียนหนังสือ ฯลฯ ครูบางกลุ่มได้อธิบายการพัฒนาปรับเปลี่ยนการอ่านของเด็กจนเกิดแนวทางใหม่ในการอ่านแบบภาษาธรรมชาติ
จูดิท นิวแมน
การสอนภาษาโดยองค์ รวมมีลักษณะเป็นปรัชญาความคิดของผู้สอนโดยก่อตั้งขึ้นจากหลักการสอนที่ผู้สอนนำมาบูรณาการ
นักทฤษฎี
จอห์น นิวอี้
การเรียนรู้ภาษาของเด็กเกิดจากประสบการณ์ตรงโดยการลงมือกระทำด้วยตนเอง
ทฤษฎีที่เป็นกุญแจสำคัญสะท้อนความคิดต่อการสอนครู
เพียเจย์
เด็กจะเรียนรู้ผ่านกิจกรรมในการเคลื่อนไหว และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างองค์ความรู้ขึ้นภายในตนเองนั้นโดยเด็กเป็นผู้กระทำ (Active)ก่อให้เกิดการเรียนรู้ในการคิดด้วยตนเองจึงการเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพัน